ปีนี้เป็นปีที่ 94 ของการก่อตั้งกระทรวงพาณิชย์ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติมีโอกาสเข้าร่วมแสดงความ ยินดีและได้ฟังปาฐกถาพิเศษของ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ เลขาธิการ UNCTAD หรือ การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ อังค์ถัด (อังกฤษ: United Nations Conference on Trade and Development ย่อว่า UNCTAD) ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2507 เพื่อเป็นองค์กรถาวรระหว่างรัฐบาล ที่เป็นเครื่องมือหลักของสหประชาชาติที่จัดการด้านการค้า การลงทุน และการพัฒนา โดยดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการมาตั้งแต่ วันที่ 1 กันยายน 2548 ซึ่งการปาฐกถาในครั้งนี้นับว่าท่านได้ฉายภาพองค์ทางการค้าต่างๆ ที่ได้ก่อตั้งมาเพิ่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการค้า จนน่าจะลบบทบาทขององค์การการค้าโลกลงไป เช่น TPP หรือ ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement : TPP) ที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ผลักดัน ซึ่งองค์การเหล่านี้จะเป็นคลื่นเศรษฐกิจใหม่ในอนาคต
ดร. ศุภชัยได้กล่าวตั้งแต่สมัยที่เราต่อสู้กับปัญหาเศรษฐกิจที่เรียกว่า วิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง มันเป็นปรากฏการณ์ที่ถ้าเราสามารถผ่านวิกฤตการณ์มาได้มันไม่มีอะไรที่ประเทศไทยและกระทรวงพาณิชย์จะผ่านไปไม่ได้ นั่นเป็นวิกฤตที่รุนแรงที่สุด หลังจากวิกฤตการณ์ใหญ่ของโลกที่เรียกว่า The Great Depression of 1929 เมื่อประมาณ 80-90 ปีก่อน คศ.1929-1930 ซึ่งเริ่มต้นจากการใช้นโยบายทางการเงินของ Federal Reserve ของสหรัฐอเมริกาที่ส่งกระทบต่อตลาดหุ้นอย่างหนักเป็นอันดับแรก และตามมาถึงเศรษฐกิจแท้จริง ทั้งอัตราการว่างงานที่มากขึ้น GDP หลายประเทศลดลงกันทั่วหน้า รวมถึงวิกฤตที่เริ่มจากประเทศเราเองเมื่อ 16-17 ปีที่ผ่านมา เป็นวิกฤตที่เรียกว่า คนที่มาช่วยเรายิ่งทำให้เราหนักมากกว่าเดิม โดยเฉพาะข้อกำหนดต่างๆ ของ IMF ในช่วงนั้น
สมัยนั้นมา ดร.ศุภชัย เล่าให้ฟังว่านั่งในกระทรวงพาณิชย์แต่เขาอุปโลกให้มาดูแลเรื่อง การแก้ไขปัญหา ฟื้นฟู วิกฤต แต่ในการแก้ไขปัญหานั้นก็มีความเห็นที่แตกต่างบ้างนั่นเป็นสิ่งที่ดี แต่สิ่งที่ทำให้เราแย่ไปกว่าเดิมคือเราต้องฟังเสียงจากคนข้างนอก เราต้องฟังคำแนะนำของคนจากสถาบันการเงินกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และต้องฟังจากธนาคารโลก แล้วสิ่งที่เขาแนะนำเรา เขาไม่เคยปฏิบัติ เรามีปัญหาตอน 1997-1998 เขาสั่งเราทำทุกคนอย่าง เพิ่มดอกเบี้ย ลดค่าเงินบาท เศรษฐกิจทรุดต่ำกว่าเดิม เมื่อปี 2007-2008 เวลาสหรัฐฯมีปัญหา ยุโรปมีปัญหาก็แนะนำตรงกันข้าม ดอกเบี้ยลด ค่าเงินปล่อยลอย แต่ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ลดมากนัก
การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเราแก้ปัญหาของเราเองก็ไม่พอ เราต้องหาเพื่อนมากขึ้น ซึ่งในขณะนี้ทางกระทรวงพาณิชย์ก็พยายามที่จะทำงานร่วมกับเอกชน เตรียมพวกเขาทุกคนให้พร้อมสำหรับการเข้าสู่การแข่งขัน ซึ่งผมเองก็เชื่อว่าตัวของประชาคมอาเซียนก็เกิดขึ้นมาแล้ว ตั้งแต่ที่เราได้มีกระบวนการของภาคใต้ที่เป็นเขตการค้าเสรีของอาเซียนมันจบลงไปเมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว มันก็ต้องเกิดขึ้นอยู่แล้ว ที่เรามีเป้าหมายว่าอีก 2-3 ปีข้างหน้า หรือแม้แต่ปี 2015 ปีหน้าที่จะถึงนี้เราจะเป็นการนับหนึ่งแล้วยิงปืน แล้วเราก็วิ่งหนี ผมว่าเราไม่ใช่อย่างนั้น เรารู้จักกันมาแล้ว มีการแข่งขันกันมาแล้ว เรายังมีการต้องมีการทำงานร่วมกันอีกมากมาย ซึ่งดูแล้วใน 10 ประเทศของอาเซียน ไม่มีใครพร้อมไปกว่าเรา อย่างเช่น สิงคโปร์ดูเหมือนว่าจะพร้อม ซึ่งถ้าจะพร้อมจะทำได้ดีก็ต่อเมื่อเราต้องร่วมมือการทำงาน ซึ่งก็เปรียบเทียบได้กับคนที่ซึ่งมารับหน้าที่เป็นผู้ร่าง ข้อกำหนดการค้า ช่วยให้ความสะดวกในการค้าขาย ในการเข้ามาดูแลการค้าระบบเสรี ซึ่งเขาก็เสรีในตัวเองอยู่แล้ว แต่ว่าขีดจำกัดมีมากหน่อย ในแง่ของประชากร ความสามารถของเขาเอง ประเทศอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ผมคิดว่าไม่มีใครที่จะดีไปกว่าเรา แต่สิ่งที่น่าสังเกตคือ ความสำนึก ความรู้สึกที่เราจะต้องเตรียมตัวมากขึ้น เพราะฉะนั้นประเทศไทยมีมากที่สุด ถ้าอินโดนีเซียในขณะนี้จะเห็นชัดเจนเลยว่า ถ้าประเทศไทยบ่นมากว่า โครงสร้างพื้นฐานต้องลงทุนอีกเยอะ การสร้างทางรถไฟรางคู่ การทำด่านชายแดนให้เป็นด่านเปิดตลอดเวลา 24 ชม. เราจะเห็นว่าในอินโดนีเซียขณะนี้เพิ่งมีโครงการโยงเศรษฐกิจของเขา โครงการที่ใหญ่ที่สุดตอนนี้คือ การทำทางเชื่อมระหว่าง สุราบายา (Surabaya) กับจาร์กาต้า (Jakarta) ซึ่งเป็นการทำมอร์เตอร์เวย์ขนาดใหญ่ เพื่อไปกระตุ้นคนที่นั่นให้มี ความรู้สึกว่า เวลานี้เรามีการแข่งขันในอาเซียน ต่อไปเราต้องมีคนมาลงทุนแข่งขันกับเรา สุราบายาก็ต้องเป็นเมืองหลักที่ต้องช่วยจาร์กาต้า ทางจะไปลงที่จาร์กาต้าอย่างเดียวก็ไม่ได้ เพราะถ้ามีจาร์กาต้าอย่างเดียวก็เหมือนกรุงเทพฯ ที่พัฒนาแล้วแต่ไม่มีหัวเมืองต่างๆ คนจะแออัด เศรษฐกิจจะชะลอตัวด้วยตัวของมันเอง เพราะว่าในลักษณะที่เราจะมีความยากลำบากในการขนส่ง ชีวิตของเมืองใหญ่ๆ ก็จะทำให้ต้นทุนมันสูงขึ้น ซึ่งเราก็เชื่อมโยงเรื่องการขนส่งพอใช้ได้ แต่ที่อื่นเรื่องการรถไฟก็พัฒนาเหมือนกัน ถ้าในฟิลิปปินส์เวลานี้ขนของ จากชานเมืองเข้าไปที่สนามบินใหญ่ ท่าเรือใหญ่ของเขาลำบาก เป็นปัญหามาก ถ้าจะดูที่มาเลเซียมองผ่านสัมผัส 15 ไปแล้ว เขามองที่สัมผัสที่ 20 เขาไม่ได้กลัวที่จะต้องแข่งขันภายนอก แน่นอนว่าจะต้องมีการแข่งขันภายนอก จากมาเลเซียมองเหมือนสิงคโปร์ที่จะต้องไปสู่ประชาคมโลก ซึ่งเป็นที่ตัวอย่างที่ดี แต่มาเลเซียก็มีปัญหาภายในที่ไม่แพ้ไปกว่าไทยหลายๆ เรื่อง คงทราบเรื่องอุตสาหกรรมของมาเลเซีย มาเลเซียต้องมีการปรับโครงสร้างเรื่องอุตสาหกรรมรถยนต์ ที่เกี่ยวข้องกับอิเล็กทรอนิกส์ การเปิดสนามบินใหม่ เป็นโครงสร้างที่รัฐบาลที่บทบาทค่อนข้างมาก ซึงมาเลเซียก็ต้องแก้ไขปัญหา รวมทั้งแก้ไขปัญหาความเลื่อมล้ำของชาวมาเลย์ แต่ปัญหาของเขามีการพัฒนาที่ก้าวกระโดด ซึ่งการพูดทั้งหมดนี้จะพยายามทำให้เห็นว่า ถ้าเราพยายามจะพูดถึงเรื่องคลื่นเศรษฐกิจทั้งหลาย อาจจะมีคลื่นหลายลูกซึ่งดูแล้วว่าเราต้องเพิ่งพาเศรษฐกิจโลกได้ขนาดไหน ยังไงเราก็หนีการค้าระหว่างประเทศไม่พ้น กระทรวงพาณิชย์หนีไม่พ้นแน่นอน รายได้ การเจริญเติบโตของเรามันขึ้นอยู่กับการค้าระหว่างประเทศแน่นอน เราไม่ได้ปรับโครงสร้างของตั้งแต่หลังจากเกิดปัญหาต้มยำกุ้ง ปี 2540 โครงสร้างของเราการเพิ่งพาตลาดโลกไม่ได้ลดลง เมื่อก่อนเราเพิ่งพาตลาดโลกไม่ถึงร้อยละ 60 หรือ ร้อยละ 65-70 เราต่ำกว่านั้น แต่เมื่อเราเจริญเติบโตมาถึงทุกวันนี้ เราก็มีการพึ่งพามากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี แต่ถามว่าดีตลอดไหม มันไม่ดีตลอด อยากให้กระทรวงกับรัฐบาลและผู้บริหารประเทศเข้ามา ให้เข้าใจการบริหารงานการค้าระหว่างประเทศ เราจะทำอย่างไรให้ได้ประโยชน์กับประเทศไทยต่อไป เราต้องวางมาตรฐานอยู่เสมอว่าการค้าระหว่างประเทศทำไปแล้วเราได้อะไร เราได้การจ้างงานที่ดี ขึ้น มีเทคโนโลยี มีสินค้าใหม่เข้ามาแน่นอน เราต้องถามต่อไปอีกว่า เราใช้สิ่งเหล่านี้เป็นประโยชน์ทั่วหรือไม่ ถ้าในแง่ของความเสมอภาคระหว่างประเทศต่างๆ ถ้าไม่ให้ความเสมอภาคกับผู้ผลิตใหญ่และผู้ผลิตน้อย เพราะผู้ค้าส่วนใหญ่ที่เป็นผู้ส่งออกสำเร็จ จะเป็นใหญ่เฉพาะอย่างเดียวได้ ด้วยการที่เพิ่งระบบที่เรียกว่าระบบเครือข่ายการผลิตที่เชื่อมโยงระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเราที่ทำงานอยู่ที่ยูเอ็นกำลังวิตกอยู่มาก ตัวซัพพลายเชนกลายเป็นสิ่งที่ทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่ในต่างประเทศเอาเชนเหล่านี้มาปฏิบัติกับพวกเรา เชนใหญ่คือเจ้าขอเทคโนโลยี เจ้าของทุน เจ้าของเครือข่ายมาร์เก็ตติ่งทุกอย่าง เราเป็นเจ้าของแรงงาน เราก็นับว่าแรงงานเข้ามาอยู่ในเชน เราจะอยู่ในส่วนของเชน แบบจำลองที่พัฒนาในอดีตแล้ว การส่งเสริมการลงทุน การยกเว้นภาษีอากร การส่งเสริมสนับสนุน การบริหารโดยรัฐบาล มันดีอยู่ในระดับหนึ่ง ถ้าค่าเงินเราแข็งเกินไป นั่นจะเป็นหลักของการสู้คลื่นเศรษฐกิจที่จะเข้ามา เราจะไปพึ่งพาการส่งออกเป็นไปด้วยดีก็ต่อเมื่อตลาดโลกเป็นไปได้ด้วยดี
การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเราแก้ปัญหาของเราเองก็ไม่พอ เราต้องหาเพื่อนมากขึ้น ซึ่งในขณะนี้ทางกระทรวงพาณิชย์ก็พยายามที่จะทำงานร่วมกับเอกชน เตรียมพวกเขาทุกคนให้พร้อมสำหรับการเข้าสู่การแข่งขัน ซึ่งผมเองก็เชื่อว่าตัวของประชาคมอาเซียนก็เกิดขึ้นมาแล้ว ตั้งแต่ที่เราได้มีกระบวนการของภาคใต้ที่เป็นเขตการค้าเสรีของอาเซียนมันจบลงไปเมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว มันก็ต้องเกิดขึ้นอยู่แล้ว ที่เรามีเป้าหมายว่าอีก 2-3 ปีข้างหน้า หรือแม้แต่ปี 2015 ปีหน้าที่จะถึงนี้เราจะเป็นการนับหนึ่งแล้วยิงปืน แล้วเราก็วิ่งหนี ผมว่าเราไม่ใช่อย่างนั้น เรารู้จักกันมาแล้ว มีการแข่งขันกันมาแล้ว เรายังมีการต้องมีการทำงานร่วมกันอีกมากมาย ซึ่งดูแล้วใน 10 ประเทศของอาเซียน ไม่มีใครพร้อมไปกว่าเรา อย่างเช่น สิงคโปร์ดูเหมือนว่าจะพร้อม ซึ่งถ้าจะพร้อมจะทำได้ดีก็ต่อเมื่อเราต้องร่วมมือการทำงาน ซึ่งก็เปรียบเทียบได้กับคนที่ซึ่งมารับหน้าที่เป็นผู้ร่าง ข้อกำหนดการค้า ช่วยให้ความสะดวกในการค้าขาย ในการเข้ามาดูแลการค้าระบบเสรี ซึ่งเขาก็เสรีในตัวเองอยู่แล้ว แต่ว่าขีดจำกัดมีมากหน่อย ในแง่ของประชากร ความสามารถของเขาเอง ประเทศอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ผมคิดว่าไม่มีใครที่จะดีไปกว่าเรา แต่สิ่งที่น่าสังเกตคือ ความสำนึก ความรู้สึกที่เราจะต้องเตรียมตัวมากขึ้น เพราะฉะนั้นประเทศไทยมีมากที่สุด ถ้าอินโดนีเซียในขณะนี้จะเห็นชัดเจนเลยว่า ถ้าประเทศไทยบ่นมากว่า โครงสร้างพื้นฐานต้องลงทุนอีกเยอะ การสร้างทางรถไฟรางคู่ การทำด่านชายแดนให้เป็นด่านเปิดตลอดเวลา 24 ชม. เราจะเห็นว่าในอินโดนีเซียขณะนี้เพิ่งมีโครงการโยงเศรษฐกิจของเขา โครงการที่ใหญ่ที่สุดตอนนี้คือ การทำทางเชื่อมระหว่าง สุราบายา (Surabaya) กับจาร์กาต้า (Jakarta) ซึ่งเป็นการทำมอร์เตอร์เวย์ขนาดใหญ่ เพื่อไปกระตุ้นคนที่นั่นให้มี ความรู้สึกว่า เวลานี้เรามีการแข่งขันในอาเซียน ต่อไปเราต้องมีคนมาลงทุนแข่งขันกับเรา สุราบายาก็ต้องเป็นเมืองหลักที่ต้องช่วยจาร์กาต้า ทางจะไปลงที่จาร์กาต้าอย่างเดียวก็ไม่ได้ เพราะถ้ามีจาร์กาต้าอย่างเดียวก็เหมือนกรุงเทพฯ ที่พัฒนาแล้วแต่ไม่มีหัวเมืองต่างๆ คนจะแออัด เศรษฐกิจจะชะลอตัวด้วยตัวของมันเอง เพราะว่าในลักษณะที่เราจะมีความยากลำบากในการขนส่ง ชีวิตของเมืองใหญ่ๆ ก็จะทำให้ต้นทุนมันสูงขึ้น ซึ่งเราก็เชื่อมโยงเรื่องการขนส่งพอใช้ได้ แต่ที่อื่นเรื่องการรถไฟก็พัฒนาเหมือนกัน ถ้าในฟิลิปปินส์เวลานี้ขนของ จากชานเมืองเข้าไปที่สนามบินใหญ่ ท่าเรือใหญ่ของเขาลำบาก เป็นปัญหามาก ถ้าจะดูที่มาเลเซียมองผ่านสัมผัส 15 ไปแล้ว เขามองที่สัมผัสที่ 20 เขาไม่ได้กลัวที่จะต้องแข่งขันภายนอก แน่นอนว่าจะต้องมีการแข่งขันภายนอก จากมาเลเซียมองเหมือนสิงคโปร์ที่จะต้องไปสู่ประชาคมโลก ซึ่งเป็นที่ตัวอย่างที่ดี แต่มาเลเซียก็มีปัญหาภายในที่ไม่แพ้ไปกว่าไทยหลายๆ เรื่อง คงทราบเรื่องอุตสาหกรรมของมาเลเซีย มาเลเซียต้องมีการปรับโครงสร้างเรื่องอุตสาหกรรมรถยนต์ ที่เกี่ยวข้องกับอิเล็กทรอนิกส์ การเปิดสนามบินใหม่ เป็นโครงสร้างที่รัฐบาลที่บทบาทค่อนข้างมาก ซึงมาเลเซียก็ต้องแก้ไขปัญหา รวมทั้งแก้ไขปัญหาความเลื่อมล้ำของชาวมาเลย์ แต่ปัญหาของเขามีการพัฒนาที่ก้าวกระโดด ซึ่งการพูดทั้งหมดนี้จะพยายามทำให้เห็นว่า ถ้าเราพยายามจะพูดถึงเรื่องคลื่นเศรษฐกิจทั้งหลาย อาจจะมีคลื่นหลายลูกซึ่งดูแล้วว่าเราต้องเพิ่งพาเศรษฐกิจโลกได้ขนาดไหน ยังไงเราก็หนีการค้าระหว่างประเทศไม่พ้น กระทรวงพาณิชย์หนีไม่พ้นแน่นอน รายได้ การเจริญเติบโตของเรามันขึ้นอยู่กับการค้าระหว่างประเทศแน่นอน เราไม่ได้ปรับโครงสร้างของตั้งแต่หลังจากเกิดปัญหาต้มยำกุ้ง ปี 2540 โครงสร้างของเราการเพิ่งพาตลาดโลกไม่ได้ลดลง เมื่อก่อนเราเพิ่งพาตลาดโลกไม่ถึงร้อยละ 60 หรือ ร้อยละ 65-70 เราต่ำกว่านั้น แต่เมื่อเราเจริญเติบโตมาถึงทุกวันนี้ เราก็มีการพึ่งพามากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี แต่ถามว่าดีตลอดไหม มันไม่ดีตลอด อยากให้กระทรวงกับรัฐบาลและผู้บริหารประเทศเข้ามา ให้เข้าใจการบริหารงานการค้าระหว่างประเทศ เราจะทำอย่างไรให้ได้ประโยชน์กับประเทศไทยต่อไป เราต้องวางมาตรฐานอยู่เสมอว่าการค้าระหว่างประเทศทำไปแล้วเราได้อะไร เราได้การจ้างงานที่ดี ขึ้น มีเทคโนโลยี มีสินค้าใหม่เข้ามาแน่นอน เราต้องถามต่อไปอีกว่า เราใช้สิ่งเหล่านี้เป็นประโยชน์ทั่วหรือไม่ ถ้าในแง่ของความเสมอภาคระหว่างประเทศต่างๆ ถ้าไม่ให้ความเสมอภาคกับผู้ผลิตใหญ่และผู้ผลิตน้อย เพราะผู้ค้าส่วนใหญ่ที่เป็นผู้ส่งออกสำเร็จ จะเป็นใหญ่เฉพาะอย่างเดียวได้ ด้วยการที่เพิ่งระบบที่เรียกว่าระบบเครือข่ายการผลิตที่เชื่อมโยงระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเราที่ทำงานอยู่ที่ยูเอ็นกำลังวิตกอยู่มาก ตัวซัพพลายเชนกลายเป็นสิ่งที่ทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่ในต่างประเทศเอาเชนเหล่านี้มาปฏิบัติกับพวกเรา เชนใหญ่คือเจ้าขอเทคโนโลยี เจ้าของทุน เจ้าของเครือข่ายมาร์เก็ตติ่งทุกอย่าง เราเป็นเจ้าของแรงงาน เราก็นับว่าแรงงานเข้ามาอยู่ในเชน เราจะอยู่ในส่วนของเชน แบบจำลองที่พัฒนาในอดีตแล้ว การส่งเสริมการลงทุน การยกเว้นภาษีอากร การส่งเสริมสนับสนุน การบริหารโดยรัฐบาล มันดีอยู่ในระดับหนึ่ง ถ้าค่าเงินเราแข็งเกินไป นั่นจะเป็นหลักของการสู้คลื่นเศรษฐกิจที่จะเข้ามา เราจะไปพึ่งพาการส่งออกเป็นไปด้วยดีก็ต่อเมื่อตลาดโลกเป็นไปได้ด้วยดี
ประเทศที่พัฒนาแล้วบอกว่าปีนี้ฟื้นแน่ ปรากฏว่ากลับทรุดลงไปอีก รวมทั้งเยอรมนี การค้ายุโรปปีนี้บอกว่าการค้าจะโตร้อยละ 1 ซึ่งเรียกว่า แย่ที่สุดแล้ว ถ้าถามว่าทั้งปีไม่ถึง 1 เพราะฉะนั้น GDP nominal ของโลกก็เป็นของเราด้วย ว่าเราจะเข้าไปส่งเสริมการค้ามันจะยาก สมัยเมื่อ 10 กว่าปีก่อน เราประกาศนโยบายว่าการขยายตัวร้อยละ 10-15 เดี๋ยวนี้ประกาศปีละ 7%, 5% แล้วจะเหลือ 4%, 3%, 2% ตลาดต่อไปในอนาคตเป็นโลกาภิวัฒน์มาก เกิดอะไรที่มุมโลกหนึ่งกระเทือนมาถึงมุมโลกนี้อย่างแน่นอน แต่ว่าจะเป็นตลาดที่แคบลงในแง่ของกฎระเบียบที่มีมากขึ้น ดูจากตัวเลขที่ทำกับ World Trade Organization (WTO) หรือ Organisation mondiale du commerce (OMC) ทุกครึ่งปี เป็นรายงานของ การค้าการลงทุนและกฎข้อบังคับของโลกที่นำมาใช้ในประเทศ ตั้งแต่ที่ทำมาในปี 2007 นั้น มาตรการมีการเพิ่มการจำกัดการค้า การลงทุนเพิ่มขึ้นทุกปี ขณะเดียวการมาตราการการปลดปล่อยการค้าเสรีก็เพิ่มด้วย แต่บอกไม้ได้ว่า การเพิ่มการจำกัดการค้า การลงทุนที่เพิ่มขึ้น แต่การปล่อยการค้าเสรีก็เพิ่มมากขึ้นด้วย แต่เราจำเป็นต้องดู ระหว่างที่เรามีปัญหา ช่วงปี 2007-2008 มีการนำมาใช้ของนโยบายที่มีการจำกัดการลงทุน รัฐบาลมีการเข้ามาแทรกแซง รัฐบาลมาซื้อแบงค์ ซื้อหุ้น ลงมาช่วยหมด แต่เมื่อเราจะปล่อยคืนกลับปล่อยไม่ได้ กลายเป็นว่าเวลานี้ตั้งแต่พัฒนามามีการเข้าไปจำกัดการลงทุนโยงเข้ากับการจำกัดการค้าขายด้วย เข้าใจลำบากมาก ขณะที่อเมริกาเข้าไปประชุมทุกที่ แต่วันดีคืนดีอมริกาประกาศว่า Buy US อีกหน่อยเราก็บอกว่า Buy เราเอง Buy ไทย นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้ถ้าจะประกาศเราต้องบอกให้เนียนๆ หน่อย ไม่ใช่โฆษณาชัดๆ บางแห่งที่ได้รับการช่วยเหลือจากสหรัฐไปทุกรัฐบาลบอกให้ดูให้ดี ก่อนที่จะให้คนอื่นกู้เงินให้เรากู้เงินก่อน ดูตัวเลขที่มาจาก 3 องค์กรที่เสนอไป มื่อก่อน 1-2 % เดี๋ยวนี้ 4 % แล้ว ของการค้าที่เป็นการนำเข้า แต่แนวโน้มมันน่ากลัว มันเป็นสินค้าที่เขาไม่อยากให้เราเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเขามากมาย แล้วจำนวนของมาตรการสะสมไปด้วย ขณะนี้มาตรการการสะสมจำกัดการค้าไปจนถึงเวลานี้ในทั่วโลกเกือบพัน ดูแลแล้วมันเป็นอะไรที่ทำให้ตลาดต่อเนื่องมากขึ้น โลกาภิวัฒน์เชื่อมโยงมากขึ้น แต่ตลาดแคบลง สิ่งที่เราจะกำหนดต่อไปในอนาคตที่จะทำให้เศรษฐกิจเป็นสีเขียวที่มีความยั่งยืน เมื่อมีการเติบโตต่อเนื่องที่ทำให้เกิดความเสมอภาคในประเทศ ต้องมี GSP ต้องมีความเชื่อแบบเฝ้าระวังมันมีเงื่อนไข ระบบตลาดต้องเป็นระบบที่อยู่ภายใต้กฎระเบียบที่ดีขึ้นไป มีเสรีกับกฎระเบียบที่ดี ซึ่งเราต้องมีการเจรจาแต่ละรอบๆ มีการแตกแยกออกไปรอบเล็กๆ มากมาย การเจรจาจะหมดสภาพไป กฎระเบียบของการดูแลธุรกิจ สิ่งแวดล้อม เสมอภาค มันจะมีสิ่งที่ทำให้ระบบของตลาดดีขึ้น ต้องมีคนเข้าไปแทรกแซง
ถ้าถามว่าองค์การการค้าโลกจะยอมให้เราทำแบบนี้ได้มั้ย มีการพูดกันมา เมื่อครั้งที่แล้วประชุมครั้งที่ 9 ที่บาหลี เงื่อนไขของข้อตกลงการเปิดตลาด ถ้าจะทำธุรกิจส่งสินค้าเข้า ส่งสินค้าออกจะต้องมีระเบียบอะไรบ้าง ต้องมีการประกาศล่วงหน้า แล้วมีการอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งข้ามแดน ในที่สุดข้อตกลงที่บาหลีเมื่อกลับไปเจนนิวาแล้วภายในปลายเดือนกรกฎาคมจะต้องมีการเขียนที่ชัดเจน การช่วยเหลือระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศที่ด้อยพัฒนา แต่ปรากฏว่าไม่จบเพราะเรื่องแบ่งแยกประเทศที่เจริญแล้วกับเจริญยังไม่สุด ประเทศเหล่านี้ยังต้องได้รับการดูแลเรื่องของสินค้าเกษตร ตอนนี้ไม่เหมือนกับที่เรื่องกระบวนการเจรจาการค้าเมื่อปี 2001 สินค้าเกษตรจะราคาไม่ดีเรื่อยๆ ในประเทศที่ขาดผลประโยชน์เรื่องของอาหาร มีความรู้สึกว่าสินค้าพวกนี้มีราคาแพงเกินไปมากสำหรับเขา เพราะฉะนั้นประเทศอินเดียที่มาตั้งเงื่อนไขขอรักษาระบบที่ต้องทำในอินเดียว่า บางทีก็ผลิตสินค้าได้ดีบางทีก็ไม่ได้ดี เพราะเรื่องสภาพอากาศ จนกระทั่งต้องเก็บสต็อก การสต็อกสินค้าต้องใช้เงิน ดังนั้นจึงขอเงื่อนไขในการสต็อกสินค้า การเจรจามา 10 กว่าปี สำหรับสินค้าเกษตร อาหารเสรี มันขัดกันมาก
หลังจากที่มีการฟื้นฟูขณะนี้กำลังเป็นทริปเบิ้ลดริป เศรษฐกิจจะชะลอ ความเลื่อมล้ำ เสมอภาคในสหรัฐฯ ทำให้เกิดวิกฤตมากมาย มันเป็นปัญหาเริ่มต้น GINI INDEX เป็นการวัดความเสมอภาคการกระจายรายได้และการบริโภคกันควรเป็น 0% ขณะที่มันดันขึ้นมาเรื่อยๆ เป็นศูนย์จุดกว่า เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปีจน 0.4 กว่า เราต้องดูแลว่าสิ่งที่เราทำไปนั้นมาสามารถสร้างพรรคพวก AEC หรือ AEC+6 ได้ไหม
ที่จำเป็นคือเรื่องความโปร่งใส การจัดซื้อจัดจ้าง ตอนนี้เราเป็นเขตปลอดการคอรัปชั่น แต่จะเป็นไปได้ไหมที่จะเข้าไปเชื่อมโยง อย่างน้อยเป็นการประกันอย่างหนึ่งว่าเราจะเข้าไปสู่จุดที่เราไม่กลัว สิ่งที่จะฝ่าคลื่นเศรษฐกิจทั้งนอกและในประเทศเราเชื่อมั่นในระบบของเราที่ดีว่าเราจะทำได้ ประเทศที่คล้ายประเทศไทยจะเกิดประโยชน์ที่สุด สิงคโปร์ดีที่สุด ต่อมาเป็นอินโดนีเซีย มาเลเซีย แต่ของไทยจะเป็นการเชื่องโยงได้ดีที่สุด ขณะนี้เราต้องเพิ่มความต้องการ โครงสร้างพื้นฐานไม่น่าจะยาก เชื่องโยงเศรษฐกิจของเรา เชื่อมโยงชายแดนให้เป็นหนึ่ง ความมั่นคงความปลอดภัยทางเศรษฐกิจเป็นเรื่องสำคัญ การที่ไทยเข้ามามีประโยชน์สูงสุดในอาเซียนเป็นเรื่องที่ชัดเจนอยู่แล้ว เราจำเป็นต้องมีการลงทุน คนไทยมีการลงทุนโรงงานปลากระป๋องในแอฟริกา เราก็ยังใช้เทคโนโลยีของไทย การลงทุนและการค้าเป็นสิ่งที่มาเลเซียทำได้ดี การพัฒนาการค้ายั่งยืนเป็นเรื่องของทั้งประเทศ ตัวเลขการส่งออกในเรื่องที่ไม่ดีมันไม่ใช่เป็นปัญหาเพราะเราส่งออกไม่ดี ดูอย่างเช่น เวียดนาม ตอนนี้ไม่ดีเลย เวียดนามเลยมองไปในด้านอื่น และมีการส่งออกระดับ 7 ของโลก ขณะนี้อุตสากรรมไทยผลิตยานยนตร์ได้น้อยกว่าอินโดนีเซียมาก เราต้องมีการเปลี่ยนแปลงการลงทุนแบบที่มาเลเซียกำลังเปลี่ยนแปลง แต่การลงทุนเรายังพึ่งเทคโนโลยีจากข้างนอกมาก ถ้าจะฝ่าฟันเรื่องมรสุมน่าจะเป็นเรื่องของการผลิตการลงทุน นวัตกรรม และกฎหมายของการค้า ต้องมาดูแลว่ามีการประสานของกฎหมายหรือเปล่า ที่เกี่ยวข้องกับการค้า เรายังไม่ได้เริ่มนำมาเปรียบกันสักเท่าไหรมากนัก สิ่งต่อไปที่ต้องพัฒนาเป็นเรื่องของกรอบกฎหมาย การส่งเสริมการลงทุน ตอนนี้จีนมีเงินลงทุนจากต่างประเทศร้อยละ 24 ของประเทศ เพราะฉะนั้นกฎหมายการลงทุนเราต้องมีการช่วยกันแชร์ ถ้าโลกนี้ยอมให้เมกะนิวเกิดขึ้น เช่น The Transatlantic Trade and Investment Partnership (TTIP) หรือ เขตการค้าเสรีอเมริกากับยุโรป TPP หรือ ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement : TPP) ที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ผลักดัน
ที่จำเป็นคือเรื่องความโปร่งใส การจัดซื้อจัดจ้าง ตอนนี้เราเป็นเขตปลอดการคอรัปชั่น แต่จะเป็นไปได้ไหมที่จะเข้าไปเชื่อมโยง อย่างน้อยเป็นการประกันอย่างหนึ่งว่าเราจะเข้าไปสู่จุดที่เราไม่กลัว สิ่งที่จะฝ่าคลื่นเศรษฐกิจทั้งนอกและในประเทศเราเชื่อมั่นในระบบของเราที่ดีว่าเราจะทำได้ ประเทศที่คล้ายประเทศไทยจะเกิดประโยชน์ที่สุด สิงคโปร์ดีที่สุด ต่อมาเป็นอินโดนีเซีย มาเลเซีย แต่ของไทยจะเป็นการเชื่องโยงได้ดีที่สุด ขณะนี้เราต้องเพิ่มความต้องการ โครงสร้างพื้นฐานไม่น่าจะยาก เชื่องโยงเศรษฐกิจของเรา เชื่อมโยงชายแดนให้เป็นหนึ่ง ความมั่นคงความปลอดภัยทางเศรษฐกิจเป็นเรื่องสำคัญ การที่ไทยเข้ามามีประโยชน์สูงสุดในอาเซียนเป็นเรื่องที่ชัดเจนอยู่แล้ว เราจำเป็นต้องมีการลงทุน คนไทยมีการลงทุนโรงงานปลากระป๋องในแอฟริกา เราก็ยังใช้เทคโนโลยีของไทย การลงทุนและการค้าเป็นสิ่งที่มาเลเซียทำได้ดี การพัฒนาการค้ายั่งยืนเป็นเรื่องของทั้งประเทศ ตัวเลขการส่งออกในเรื่องที่ไม่ดีมันไม่ใช่เป็นปัญหาเพราะเราส่งออกไม่ดี ดูอย่างเช่น เวียดนาม ตอนนี้ไม่ดีเลย เวียดนามเลยมองไปในด้านอื่น และมีการส่งออกระดับ 7 ของโลก ขณะนี้อุตสากรรมไทยผลิตยานยนตร์ได้น้อยกว่าอินโดนีเซียมาก เราต้องมีการเปลี่ยนแปลงการลงทุนแบบที่มาเลเซียกำลังเปลี่ยนแปลง แต่การลงทุนเรายังพึ่งเทคโนโลยีจากข้างนอกมาก ถ้าจะฝ่าฟันเรื่องมรสุมน่าจะเป็นเรื่องของการผลิตการลงทุน นวัตกรรม และกฎหมายของการค้า ต้องมาดูแลว่ามีการประสานของกฎหมายหรือเปล่า ที่เกี่ยวข้องกับการค้า เรายังไม่ได้เริ่มนำมาเปรียบกันสักเท่าไหรมากนัก สิ่งต่อไปที่ต้องพัฒนาเป็นเรื่องของกรอบกฎหมาย การส่งเสริมการลงทุน ตอนนี้จีนมีเงินลงทุนจากต่างประเทศร้อยละ 24 ของประเทศ เพราะฉะนั้นกฎหมายการลงทุนเราต้องมีการช่วยกันแชร์ ถ้าโลกนี้ยอมให้เมกะนิวเกิดขึ้น เช่น The Transatlantic Trade and Investment Partnership (TTIP) หรือ เขตการค้าเสรีอเมริกากับยุโรป TPP หรือ ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement : TPP) ที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ผลักดัน
เราต้องผลักดัน RCEP ก่อน ทั้งนี้ ในเบื้องต้น ดร.ศุภชัย เห็นว่าประเทศไทยและอาเซียนควรให้ความสำคัญกับการรวมกลุ่มของอาเซียน และการจัดทำความตกลง RCEP ก่อน เนื่องจากเป็นกลไกและเครื่องมือที่สำคัญในการบรรลุเป้าหมายการรวมกลุ่มของอาเซียน ซึ่งสามารถดำเนินการให้บรรลุผลได้ง่ายกว่า โดยในส่วนของ TPP นั้นไทยยังมีเวลาพอสมควรในการเตรียมความพร้อมของประเทศ ทั้งในเรื่องการปรับปรุงกฎระเบียบต่าง ๆ ให้มีความสอดคล้อง และการจัดทำการศึกษา เนื่องจากขณะนี้การเจรจาของประเทศสมาชิก TPP ยังไม่มีความคืบหน้ามากนัก องค์การเหล่านี้จะเป็นคลื่นเศรษฐกิจโลก เอเชีย และอาเซียนใหม่ ซึ่งเกือบจะกำหนดอำนาจโลกได้ทั้งหมด โดยเฉพาะเรื่องของกฎระเบียบ ซึ่งเท่ากับว่าไม่ต้องมี WTO ก็ได้
รวบรวมโดย
คลิ๊กเข้าร่วมกลุ่มfacebookกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรแห่งประเทศไทย
|
0 ความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น