วัคซีนคือเชื้อโรคที่ถูกทำให้อ่อนแอลงจนร่างการรับได้ไม่เป็นอันตราย การทำงานจะเข้าไปในร่างกายเพื่อให้ร่างกายรับรู้ว่า เออหน้าตาไอ้เชื้อโรคนี้เป็นอย่างนี้นะ ร่างกายก็จะหาทางป้องกัน เมื่อคราวหน้าเจอกันอีก ร่างกายก็จะป้องกันได้ เรียกว่า "มีภูมิคุ้มกัน" ครับ การที่เราทำวัคซีนเซอโค กับมัยโครพลาสมา ร่างกายก็อาจจะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อสองตัวนี้ครับ แต่ไม่ครอบคลุมไปถึงว่าโรคอื่นๆ จะเข้ามาไม่ได้เลย
ถ้ารับหมูเข้ามาแล้วเป็นฝีดาษ หากรักษาฝีดาษให้หายไม่ได้โดยเร็ว เชื้อโรคที่มีอยู่แล้วตามคอกก็จะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล ประกอบกับภูมิคุ้มกันตกจากภาวะเครียดเนื่องจากการเคลื่อนย้าย การเปลี่ยนที่อยู่ใหม่ เปลี่ยนอาหาร ทำให้เชื้อโรคฉวยโอกาสขยายจำนวนขึ้นและทำให้หมูป่วย
ต่อมารับลูกหมูฟาร์มเข้ามาก็ยังเป็นอยู่ ถ้าหากฟาร์มทำวัคซีนสองตัวนี้ครบแล้ว เป็นไปได้ว่าอาจจะไม่ได้ตายด้วยเชื้อเซอโคหรือมัยโคครับ อาจจะตายจากเชื้ออื่นๆ ซึ่งอยู่ตามพื้นคอก หรือระบาดมาจากบริเวณใกล้เคียง ได้ อาการที่ว่าท้องเสีย รวมถึงอาการชัก อาจเป็นไปได้ว่าติดเชื้อเสตรป หรืออีโคไลน์ ครับ
วีธีการคือก่อนที่จะลงหมูนั้นต้องทำความสะอาดคอก แล้วปล่อยให้แห้ง เน้นความแห้งเป็นหลัก เพราะเชื้อโรคจะขยายจำนวนได้มากถ้าสภาพแวดล้อมมีความชื้นแฉะ จากนั้นพ่นยาฆ่าเชื้ออย่างดี แล้วทิ้งไว้ 5 วัน จากนั้นพ่นซ้ำ แล้วอีก 2 วันลงหมูได้ อันนี้เป็นมาตรฐานทั่วไปที่แนะนำกันคือให้พักคอกก่อนลงหมู 1 สัปดาห์
อีกเรื่องหนึ่งที่ต้องระวังคือความสะอาดของอาหารและน้ำดื่ม เชื้อเสตรปและอีโคไลน์จะมากับอาหารและน้ำดื่มง่ายที่สุด ส่วน PRRS นั้นเป็นโรคที่ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ไม่ถึงกับทำให้หมูตาย ในหมูทุกตัวที่ไม่ใช่ชนิดพิเศษของบริษัทใหญ่ๆ ล้วนแต่มี PRRS อยู่ในตัวหมูอยู่แล้วครับ หากเกิดโรคต้องรักษาตามอาการ ส่วนถ้าอาการท้องเสียและทรุดจนกระทั่งชัก ถ้าหากเป็นเชื้อไวรัสอย่าง PED ก็มีความเป็นไปได้ ยังไงป้องกันเรื่องเสตรปกับอีโคไลน์ก่อนนะครับผม
โรคเซอร์โคไวรัส ฉีดเพื่อลดการเกิดโรคไม่ให้รุนแรงจนเกิดความเสียหาย ถ้าหากฉีดวัคซีนไม่ตรงกับระยะเวลาก่อนติดเชื้อ
หรืออาจมีภูมิภูมิคุ้มกันกับแม่มาอยู่อาจทำให้วัคซีนทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพครับ และการซื้อลูกหมูจากหลายๆแหล่งยิ่งมีระดับภูมิและอายุต่างกันยิ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคครับ เซอร์โคไวรัสจะกดภูมิคุ้มกันทำให้ติดเชื้ออื่นๆได้ง่ายยิ่งขึ้นครับ
โรคบางโรคมันมีอาการของโรคบางอย่างร่วมกันหากเราฟังแค่อการนะครับผม อย่างเคสล่าสุดของคุณสรญา เพ็ทช็อป ตอนแรกถ่ายเป็นวีดีโอของอาการหมูชักปั่นจักรยานมา ซึ่งอาการดังกล่าวนั้น มันสามารถเป็นไปได้ประมาณ 2-3 โรคเลยทีเดียวครับ ต้องดูองค์ประกอบจากหลายๆอย่างประกอบกัน เช่น อายุสัตว์ที่ป่วย จำนวนตัวป่วย จำนวนตัวตาย(จากจำนวนหมูทั้งหมดในกลุ่มที่แสดงอาการ) ประวัติการทำวัคซีน ประวัติยาผสมอาหารและยาฉีดที่ใช้รักษา ประเภทของอาหารที่ใช้(ผสมเองหรืออาหารเม็ดสำเร็จรูปจากทางบริษัท)โดยดูหลายๆอย่างประกอบกันครับผม ดังนั้น...การบอกมาแค่เพียงอาการป่วยที่หมูแสดงออกมาที่เจอ แล้วถามว่าเป็นอะไร รักษาอย่างไง ใช้ยาตัวใหนรักษานั้น มันมีโอกาสสูงที่จะวินิจฉัยโรคผิดพลาดได้ หรือให้ยาไม่ตรงกับโรค ทั้งๆที่ดูอาการมันเหมือนกับที่เคยเป็น และเคยฉีดยาตัวนี้ ตัวนั้นแล้วหาย แต่มาครานี้ ทำไมมันไม่หาย ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารทุกวันนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ง่ายที่สุดเลยครับผมในการขอรับการช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาหมูป่วยจากคนที่เขาพอมีประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆมาบ้างอ่ะนะครับผม ไม่จำเป็นว่าผมพูดและเขียนเช่นนี้ จะต้องเป็นผมนะครับ ผมเป็นหมอตัวเล็กๆ มีความรู้แค่นิดๆหน่อยๆ แต่แค่อยากเสนอไอเดียในการปรึกษาปัญหาหมูป่วยกันอ่ะครับผม เพราะเพียงแค่อาการนั้น...มันกว้างมากๆ ซึ่งบางโรคมันมีอาการร่วม แล้วอาจจะทำให้วินิจฉัยผิดพลาดได้ พอวินิจฉัยผิดพลาด ก็นำไปสู่การรักษาที่ผิดพลาด ทำให้หมูป่วยไม่หาย สุดท้ายแล้ว...เสียทั้งหมู เสียทั้งยา
ง่ายๆที่สุดในการขอรับคำปรึกษา คือ บอกประวัติอาการหมูป่วยมาให้ครบ เช่น อายุ(นับจากเกิด หรือนับจากรับมาลงขุน) น้ำหนักหมูที่ป่วย ลักษณะอาการที่เจอ อาหารที่ใช้เลี้ยง ประวัติการทำวัคซีนเป็นอย่างไร ตัวใหนบ้าง การรักษาในเบื้องต้นที่ฟาร์มทำอยู่(ยาฉีดใช้ยาตัวใหน ยาผสมอาหารใช้ยาอะไร) สุดท้ายถ่ายวีดีโอของอาการที่เห็นในหมูที่ป่วย สภาพตัวหมูและสภาพคอกโดยทั่วๆไปของฟาร์ม และสำคัญที่สุด คือ ถ้ามีหมูตายลองผ่าซากถ่ายดูอวัยวะภายใน เช่น ช่องท้อง : ลำไส้ ตับ ม้าม ไต เยื่อที่แขวนลำไส้(เพราะจะดูต่อมน้ำเหลืองที่เยื่อแขวนลำไส้) ช่องอก : ปอด หัวใจ ถ่ายรูปชัดๆส่งมาดู....รูปผ่าซากดูรอยโรคจากอวัยวะภายในมาดูนี้....สามารถบอกสาเหตุของปัญหาได้ชัดเจนมากกว่าการบอกแค่อาการภายนอกเยอะมากๆอ่ะครับผม โรคบางโรค(โดยเฉพาะโรคจากแบคทีเรีย) เห็นรอยโรคจากอวัยวะภายในที่เจอนั้น...สามารถบอกฟันธงได้เลยครับผม อย่างกรณีของเคสคุณสรญา เพ็ชช๊อป ที่จ.อุทัยธานี ซึ่งตอนแรกเห็นแค่วีดีโออาการ แยกได้ 2-3 โรคที่มีโอกาสเป็นไปได้ พอเห็นรอยโรคจากภายในสามารถฟันธงได้เลย ว่า...มันคือโรคอะไร พอรู้โรค ก็รู้ปัญหา พอรู้ปัญหา ก็รู้สาเหตุของปัญหา และปัจจัยเสียงที่เป็นสาเหตุโน้มนำของปัญหา แก้ที่ต้นเหตุปัญหาก็จบได้ง่ายกว่า ประหยัดเงิน ลดและหยุดความเสียหายได้เร็วกว่าครับ ลองใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่างทุกวันนี้ดูนะครับผม
มือใหม่เริ่มตอนอากาศอย่างนีลงหมูมาก มือใหม่ต้องลองจากน้อย ๆก่อนครับ ตั้งแต่มีPRRS เข้ามาโรคมันสล้บซับช้อนช่อนเงื่อน ต้องเบ่าละเอียดถึงประวัติความเป็นมาจำวนป่วย จำนวนตาย อาการ อ่าหารน้ำที่กิน สภาพคอก จนถึงการผ่าตัวที่ตายดฟูรอยโรค เฮ้อ เหนื่อยแทนมีอใหม่ นี่ยังเจอหย่านมใหม่PRRSเข้าแต่ไม่มากนักเพราะเป็นฟารมที่มีภูมิ ความเสียหายไม่เยอะ ช่วงนี้มีPRRSเยอะหลายที่แล้วโรคแทรกซ้อนเข้ามา ลำบากจริงๆ สำหรับมือใหม่
ถ้ามี PRRS แทรกมันก็เป็นไปได้สูง แต่โดยมากที่ตายนั้น แทรกด้วยเสตรปหรืออีโคไลน์ หรือโรคอื่นๆ ครับ ถ้าฟาร์มที่ซื้อหมูมาฉีดเซอโคแล้วจริง ก็ต้องถามที่ปศุสัตว์ว่าเขาใช้วิธีตรวจอะไร และตรวจที่แลบไหน ถึงทราบได้เร็วมากว่าเป็นเซอโค มีผลแลบยืนยันไหม ถ้าเคสนี้ตายเพราะเซอโคผมต้องขออภัยด้วยที่วินิจฉัยผิดครับ แต่ในใจยังเชื่อว่าไม่ใช่เซอโคอยู่ดีครับ
คลิ๊กเข้าร่วมกลุ่มfacebookกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรแห่งประเทศไทย
|
0 ความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น