.

ราคาหมูหน้าฟาร์มวันนี้

วิธีการตอนหมู

         วิธีการตอนหมู วิธีการตอนสุกร


        












เนื้อหรือไขมันสุกรที่ปรุงอาหารหรือเจียวเอาน้ำมันแล้ว ได้กลิ่นเหม็นเขียวไม่ชวนกินอาหารนั้น เกิดจากกลิ่นสุกรเพศผู้ทีไม่ได้ตอน หรือตอนแล้วแต่ใช้เวลาเลี้ยงหลังจากตอนไม่นานพอ โดยทั่วไปสุกรเพศผู้แก่ (พ่อพันธุ์) เมื่อปลดจากการใช้งาน จะถูกจำหน่ายทำเป็นกุนเชียงหรือหมูหยอง แต่จำหน่ายได้ราคาที่ต่ำมาก ผู้เลี้ยงบางรายจึงตอนสุกรพ่อพันธุ์ที่ปลดจากการใช้งานนี้เสียก่อนที่จะจำหน่าย ซึ่งกลิ่นในเนื้อจะหายเหม็นโดยใช้เวลาเลี้ยงหลังจากตอนมากกว่า 10 -12 สัปดาห์

สาเหตุของการเกิดกลิ่น
การที่เนื้อหรือไขมันสุกรมีกลิ่นเหม็นเขียว เนื่องมาจากในเนื้อเหล่านี้จะมีสารประกอบ5- -androst-16-en-3-one ซึ่งเป็นสารพวกสเตียรอยด์ชนิดที่ละลายได้ในไขมัน ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของฮอร์โมนเพศผู้(androgen) แทรกอยู่ตามกล้ามเนื้อ กลิ่นเหม็นนี้คล้ายปัสสาวะ (urine-like smell) กลิ่นนี้ไม่ระเหยออกมาจากเนื้อ ถ้าอุณหภูมิที่ใช้ปรุงอาหารต่ำกว่าจุดเดือด แต่มีรายงานพบว่า แม่สุกรนาง สุกรสาวและสุกรเพศผู้ที่ตอนแล้ว อาจพบว่ามีกลิ่นในเนื้อได้บ้างแต่น้อยมาก คือ 1 , 5 และ 5 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ โดยกลิ่นในเนื้อของสุกรเพศเมียนั้น มาจากความผิดปกติของต่อมหมวกไต ส่วนสุกรเพศผู้ที่ตอนแล้วนั้น อาจเนื่องมาจากท่อน้ำเชื้อที่หลงเหลืออยู่ ภายหลังจากถูกตอนยังสามารถผลิตฮอร์โมนเพศผู้ขึ้นมาได้บ้างเล็กน้อย

วัตถุประสงค์ในการตอนสุกรเพศผู้
1. กำจัดกลิ่นเหม็นในเนื้อและไขมันสุกร ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลักในการตอน
2. ป้องกันมีให้สุกรที่มีลักษณะไม่ดีมีโอกาสในการสืบพันธุ์ต่อไป
3. สะดวกในการนำมาเลี้ยงรวมกันในการเลี้ยงสุกรขุน เพราะสุกรเพศผู้ที่ไม่ตอนเลี้ยงรวมกันหลายตัวจะทำให้การเลี้ยงรวมกันเป็นไปได้ยาก เพราะสุกรเพศผู้จะคึกคะนองและต่อสู้กันและถ้าหากนำไปเลี้ยงรวมกับสุกรเพศเมียก็จะเกิดการแก่งแย่งอาหารและปีนทับทำให้สุกรเพศเมียตั้งท้องได้
4. จำหน่ายได้ง่ายและราคาดี

ข้อเสียของการตอนสุกรเพศผู้
1. อัตราการเจริญเติบโตลดลง เพราะสุกรที่ตอนไม่มีฮอร์โมนเพศผู้ (Androgen หรือ Testosterone) ซึ่งหน้าที่สำคัญอันหนึ่งของฮอร์โมนคือ กระตุ้นให้ร่างกายมีการสร้างและสะสมเนื้อแดงมากขึ้น ในระยะเจริญเติบโตซึ่งเป็นระยะที่สุกรมีการสะสมเนื้อแดงเป็นส่วนใหญ่ สุกรเพศผู้ที่ไม่ตอนมีฮอร์โมนเพศช่วยในการกระตุ้นให้ร่างกายสะสมเนื้อแดงได้มากกว่าสุกรตอน ส่วนในระยะสุกรขุนซึ่งเป็นระยะการเพิ่มน้ำหนักในรูปของไขมัน สุกรตอนมีการเพิ่มน้ำหนักในรูปของไขมันได้มากกว่าสุกรที่ไม่ตอน แต่เมื่อคิดรวมตลอดการเลี้ยงเพื่อขุนจำหน่ายแล้ว สุกรเพศผู้ตอนจะมีอัตราการเจริญเติบโตหรือน้ำหนักเพิ่มต่อวันต่ำกว่าเพศผู้ที่ไม่ตอน
2. อัตราการเปลี่ยนอาหารเพิ่มขึ้น สุกรที่ตอนแล้วต้องใช้อาหารในการสร้างกล้ามเนื้อเพื่อเพิ่มเป็นน้ำหนักตัว มากกว่าสุกรที่ไม่ตอน ทั้งนี้เนื่องจากขาดฮอร์โมนเพศผู้ในการนำเอาโภชนาในอาหารไปเปลี่ยนเป็นน้ำหนักตัว จึงทำให้สุกรที่ตอนแล้วมีอัตราการเปลี่ยนอาหารเลวกว่าสุกรที่ไม่ตอน

ขนาดและอายุที่เหมาะสมในการตอน
สุกรที่เหมาะสมในการตอนมากที่สุดคือ ตั้งแต่อายุ 7 วัน จนถึงหย่านม หรือน้ำหนักไม่ควรเกิน 20 กิโลกรัม การตอนสุกรที่มีขนาดใหญ่หรือน้ำหนักมากเกินไป จะมีข้อเสียหลายประการ คือ
1. จับบังคับง่าย สุกรขนาดเล็ก ทำได้ง่ายและสะดวกกว่าสุกรขนาดใหญ่
2. คอกสะอาด สุกรขนาดเล็กยังอยู่ในคอกคลอดซึ่งสะอาดกว่าคอกอื่นๆมาก
3. บาดแผลขนาดเล็ก เพราะอัณฑะมีขนาดเล็ก ทำให้เชื้อโรคแพร่เข้าไปในแผลน้อยกว่าและแผลจะหายเร็วกว่า
4. เครียดและบอบช้ำน้อยกว่า การจับบังคับสุกรขนาดใหญ่จะต้องออกแรงและกระทำอย่างแน่นหนากว่าสุกรขนาดเล็ก สุกรขนาดเล็กจึงเกิดความเครียดและบอบช้ำน้อยกว่า
5. ค่าใช้จ่ายน้อยกว่า ทั้งด้านแรงงาน อุปกรณ์ และปริมาณยา ยาที่ใช้จำเป็นต้องใช้เพิ่ม เช่น ยาสลบ รวมทั้งความสูญเสียในการเพิ่มน้ำหนักระหว่างรักษาบาดแผลที่หายยากกว่า
6. โอกาสเสี่ยงสูงกว่า ทั้งกับตัวสุกรเอง อาจตายได้ หากสูญเสียเลือดมากเกินไป และต่อผู้ปฏิบัติ ซึ่งอาจเกิดอุบัติเหตุจากการจับบังคับสุกรขนาดใหญ่ได้

สภาพที่เหมาะสมในการตอน
1. ช่วงเวลาที่เหมาะสม คือ ในช่วงที่มีอากาศเย็นสบาย เช่น ตอนเช้าหรือตอนเย็น สุกรจะเกิดความเครียดน้อยและเลือดจะไหลออกน้อย
2. สภาพแวดล้อม ความสะอาดของคอก ดีพอหรือไม่ การใส่ฟางหรือหญ้าแห้งลงไปในคอกให้มากพอ จะช่วยให้สุกรลดความเครียดลง
3. สุขภาพของลูกสุกร ลูกสุกรที่จะตอน ควรแข็งแรง ไม่เจ็บป่วย หรือยังมีอาการขี้ไหล เพราะจะเป็นการซ้ำเติมให้ลูกสุกรป่วยมากขึ้น


4. ตรวจสอบดูว่าสุกรที่ทำการตอนนั้น เป็นไส้เลื่อนที่ถุงอัณฑะ


คลิ๊กเข้าร่วมกลุ่มfacebookกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรแห่งประเทศไทย
กดแชร์บทความนี้
Share on Google Plus

About น้ำเชื้อสุกร

This is a short description in the author block about the author. You edit it by entering text in the "Biographical Info" field in the user admin panel.
    Blogger Comment
    Facebook Comment

0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

By กลุ่มผู้เลี้ยงสุกรแห่งประเทศไทย